วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ภัยจากด้วงก้นกระดก


กระทรวงสาธารณะสุข ได้เตือนให้ประชาชนระวังพิษของ "ด้วงก้นกระดก" ฝากเพื่อนอาสาและผู้ปกครองโปรดระมัดระวังบุตรหลานของท่าน ด้วยความปราถนาดีจาก แอดมิน ชมรม New Plants รวมพลคนอาสา ขอบคุณข่าวจาก กระบวนการฟันน้ำนม

ใครเห็นข่าวก็ช่วยแชร์กันไปเฝ้าระวังกันใว้ กันใว้ดีกว่าแก้แน่นอน แชร์ 1 ครั้งอาจช่วยคนได้หลายคนหากผู้อ่านตั้งใจอ่านและปฏิบัติตาม เพื่อความปลอดภัยของตัวท่านและบุตรหลานของท่านเอง

เข้าสู่ฤดูฝน ไม่ใช่เเค่ต้องระวังเรื่องสุขภาพอย่างเดียว แมลง...ก้อเป็นสิ่งสำคัญ ที่เราต้องระวังเหมือนกัน!!!





ก้าวเข้าสู่ต้นฤดูฝน ทำให้แมลงอย่าง "ด้วงก้นกระดก" หรือ "ด้วงปีกสั้น" ชุกชุมมากขึ้นในหลายจังหวัด ซึ่งล่าสุดกระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาเตือนให้ประชาชนระวังพิษของ "ด้วงก้นกระดก" เพราะอาจทำอันตรายถึงขั้นตาบอดได้

โดย "ด้วงก้นกระดก" มีชื่ออื่น ๆ ว่า "ด้วงปีกสั้น" หรือ "ด้วงก้นงอน" (Rove Beetle) มักพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน ลักษณะของ "ด้วงก้นกระดก" จะมีลำตัวเป็นเงามัน ยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร ส่วนหัวมีสีดำ ปีกสีน้ำเงินเข้ม ลำตัวมีสีดำสลับส้ม มักจะงอท้องส่ายขึ้นลงเมื่อเกาะอยู่กับพื้น โดยทั่วไป "ด้วงก้นกระดก" จะอาศัยอยู่ในพงหญ้าที่มีความชื้น และมักจะออกมาเล่นไฟตามบ้านเรือนในตอนกลางคืน "ด้วงก้นกระดก" สามารถพบได้ทั่วโลก แต่จะพบมากที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งมีมากถึง 3,100 ชนิด ส่วนที่ประเทศไทย คาดว่ามี "ด้วงก้นกระดก" ประมาณ 20 ชนิด

ประโยชน์ของ "ด้วงก้นกระดก" ก็คือ ช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืชตามธรรมชาติ และกลับมีพิษต่อคน โดย "ด้วงก้นกระดก" จะมีพิษ "เพเดอริน" (Paederin) อยู่ทั่วตัว และมีสารพิษอยู่ในตัวประมาณ 0.025 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว พิษนี้มีฤทธิ์ทำลายเซลล์เนื้อเยื่อ ส่วนใหญ่จะพบพิษใน "ด้วงก้นกระดก" ตัวเมีย ซึ่งตามปกติ "ด้วงก้นกระดก" จะไม่กัด หรือต่อยคน แต่พิษสามารถปล่อยออกมาได้ หาก "ด้วงก้นกระดก" ตกใจ ถูกตี ถูกบีบ บดขยี้ เพื่อเป็นการป้องกันตัว

อันตรายของพิษ "ด้วงก้นกระดก" คือ หากถูกพิษภายใน 24 ชั่วโมงแรก จะเกิดผื่นแพ้ที่ผิวหนังอย่างเฉียบพลัน เกิดการอักเสบ แสบร้อน พุพอง และเกิดการอักเสบขยายวงกว้างขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง จากนั้นแผลจะตกสะเก็ดภายใน 8 วัน จนสามารถกลายเป็นแผลเป็นได้ ในบางรายอาจมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเส้นประสาท ปวดกล้ามเนื้อ อาจียน คนที่แพ้พิษอย่างรุนแรง ผิวหนังอาจอักเสบหลายแห่ง คล้ายเป็นโรคงูสวัด หรืออาจเป็นผื่นแดงติดต่อกันนานหลายเดือน แต่หากพิษเข้าตา ก็อาจทำให้ตาบอดได้เลยทีเดียว

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ตั้งแต่เดือนมีนาคม - เมษายนปีนี้ (2553) มีรายงานว่า พบผู้ถูกพิษ "ด้วงก้นกระดก" แล้ว 26 ราย ที่จังหวัดราชบุรี และทุกรายมีผิวหนังเป็นผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อน บางรายตาแดง และปวดหู ก่อนหน้านี้ ในปี พ.ศ.2536 มีรายงานเป็นครั้งแรกว่า พบผู้ได้รับพิษจาก "ด้วงก้นกระดก" โดยเป็นผู้ใช้แรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 27 รายที่เกิดอาการผิวหนังอักเสบเฉียบพลัน

ต่อมาในปี พ.ศ.2549 ก็มีรายงานว่า พบผู้ถูกพิษ "ด้วงก้นกระดก" อีก 113 รายที่จังหวัดนครสวรรค์ และที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอีก 30 คน ส่วนใหญ่มีอาการเดียวกัน คือ พบผื่นแดงเป็นทางยาว ลักษณะคล้ายรอยไหม้ และมีอาการปวดแสบปวดร้อน ขณะที่ในต่างประเทศยังเคยมีรายงานว่า พบผู้ป่วยที่รับพิษจาก "ด้วงก้นกระดก" และมีอาการรุนแรงกว่า 2,000 รายในเมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น เช่นเดียวกับที่ประเทศอินเดียที่พบผู้ป่วย 123 รายเช่นกัน

สำหรับคำแนะนำในการป้องกัน "ด้วงก้นกระดก" ก็คือ ไม่ควรจับด้วงมาเล่น หรือตบตีเมื่อด้วงบินมาเกาะตามตัว ก่อนนอนควรปัดที่นอน หมอน มุ้ง ผ้าห่ม ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ก่อน เพื่อป้องกัน "ด้วงก้นกระดก" รวมทั้งในช่วงกลางคืนควรเปิดไฟเฉพาะเท่าที่จำเป็น เพราะ "ด้วงก้นกระดก" มักชอบออกมาเล่นแสงไฟ

สุดท้าย หากถูกพิษของ "ด้วงก้นกระดก" แล้ว ให้รีบล้างด้วยน้ำเปล่า ฟอกสบู่ หรือเช็ดด้วยแอมโมเนีย และไปพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี
 

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2553

1193โปรดจำ...ย้ำ

1193โปรดจำ...ย้ำ

โปรดส่งต่อเยอะ...และกรุณาจำเบอร์โทรแจ้งด้วย ใครเจออย่างนี้...ลองโทรแจ้งดูครับ ได้ผลอย่างไร Mail บอกต่อกันด้วย

ข่าวสาร จากวงการตำรวจ ที่ควรอ่าน

เวลาเจอด่าน (เถื่อน) คือ มีแค่รถฉลาม1 คัน จอดตามทางแยก หรือจุดยูเทริน มีตำรวจทางหลวง 2-3 คน โดย1คน ยืนกลางถนนคอยโบกรถหรือฉายไฟให้รถเราแอบซ้าย ตำรวจที่เหลือเป็นคนตรวจค้น ถ้าเจออย่างนี้ อย่าตกใจหรือชะลอความเร็วหรือหักพวงมาลัยไปตามที่มันโบก
ให้ตีไฟสูงไล่ แล้ววิ่งต่อไป มันไม่มีตาม เพราะมันทำผิดกฎหมายการตั้งด่านจุดสกัด
จากนั้นโทรไปที่ 1193 แจ้งว่ามีกลุ่มคนคล้ายตำรวจทางหลวง มีพฤติกรรมดังกล่าว ให้ตรวจสอบด้วยว่า เป็นเจ้าหน้าที่จริงหรือเปล่าที่ไปกีดขวางการจราจร หรือเป็นโจรที่ปลอมตัวไปดักปล้

ทีนี้มาดูว่าด่านที่ถูกต้องเป็นเช่นไร....

ด่านที่ถูกต้อง คือ ต้องมีเครื่องหมายบอกล่วงหน้าเป็นระยะว่า ข้างหน้ามีด่านและมีสิ่งกีดขวาง เช่น
กรวยสีส้ม กรวยสีส้มตั้งเป็นระยะๆ เพื่อบีบบังคับทิศทางการจราจรให้เหลือช่องเดียวนำไปยังจุดตรวจค้น ในจุดตรวจต้องมี นายตำรวจสัญญาบัตรประจำอย่างน้อย 1 คน
ลึกไปกว่านั้นคือ ทางต้นสังกัด(ในพื้นที่นั้นๆ) จะต้องมีหนังสือสั ่งการให้ตำรวจกลุ่มนี้ปฎิบัติหน้าที่
ก่อนปฏิบัติหน้าที่ตรวจ ตำรวจสัญญาบัตรที่ควบคุมชุดตรวจ จะต้องแจ้งทางวิทยุสื่อสาร ไปยังศูนย์ควบคุมข่ายนั้นๆว่า จะเริ่มปฏิบัติการตั้งจุดตรวจสกัด และตรวจสกัดสิ่งใด ตำแหน่งไหน วันเวลาเท่าไรถึงเท่าไร ใครเป็นผู้ควบคุม ด้วยกำลังพลทั้งหมดเท่าไร

หลังจากเลิกปฏิบัติหน้าที่ ตำรวจท่านนี้จะต้องสรุปผลการจับกุม-ตรวจค้นว่า พบสิ่งใดบ้างทางวิทยุสื่อสาร ต่อเจ้าหน้าที่ศูนย์ควบคุมข่าย จากนั้นจะต้องบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร & nbsp;เสนอต้นสังกัด...เป็นอันจบ.

ศึกษาไว้เป็นความรู้ครับ อย่าให้ใครมาหากินกับเรา

ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ มีหน้าที่ปัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับประชาชน
ตำรวจดี ๆ มีอีกเยอะ









วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

วัตถุอันตรายในที่ทำงานและที่บ้าน : ภัยใกล้ตัว



วัตถุ / สารอันตราย ในที่ทำงาน

นาย ธวัตรชัย ทวิติยกุล เลขประจำตัว 5214770273

วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม รุ่นที่ 1

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปีการศึกษา 1 / 2553

วัตถุอันตรายที่พบในที่ทำงาน สำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร

ผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างห้องน้ำ

ชนิดผลิตภัณฑ์





มีพิษรุนแรง กัดกร่อน

ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้

1. HYDROCHLORIC ACID 15 % W/W

ชนิดของวัตถุอันตรายประเภทที่ 3 CAS NO 7647–01-0

2. LINEAR ALKYL BENZENE SULFONIC ACID 0.29 % W/W

ชนิดของวัตถุอันตรายประเภทที่ 3 CAS NO 27176-87-0

3. ETHOXYLATED ALCOHOL (7EO) 1.5 % W/W

ชนิดของวัตถุอันตรายประเภทสารลดแรงตึงผิว

4. ETHOXYLATED ALCOHOL (15EO) 0.2 % W/W

ชนิดของวัตถุอันตรายประเภทสารลดแรงตึงผิว

ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ.2546

ในผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้เพื่อประโยชน์ในใช้ขจัดคราบทั่วไปตามบริเวณห้องน้ำ ฝาผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์

วิธีใช้ ห้ามเทลงในสุขภัณฑ์ และขณะใช้ให้สวมถุงมือยาง

สำหรับทำความสะอาด

ผสมผลิตภัณฑ์ในอัตราส่วน 1 : 2 เทลงบนพื้น ผนังห้องน้ำ และสุขภัณฑ์ ที่ต้องการทำความสะอาด แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด

สำหรับพื้นผิวที่สกปรก

ผสมผลิตภัณฑ์ด้วยอัตราส่วน 1 : 1 ราดน้ำบริเวณที่ต้องการทำความสะอาด เช่น พื้น ผนังห้องน้ำ และสุขภัณฑ์ เทผลิตภัณฑ์ลงบนบริเวณที่มีคราบสกปรกทิ้งไว้ 5 นาที ใช้แปรงขัดออกแล้วล้างด้วยน้ำสะอาด

สำหรับฆ่าเชื้อ

หลังจากทำความสะอาดแล้วผสมผลิตภัณฑ์ 1 ส่วนต่อน้ำ 50 ส่วน เทราดให้ทั่วบริเวณที่ต้องการฆ่าเชื้อ ทิ้งไว้ 10 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด

วิธีการเก็บรักษา

เก็บในที่มิดชิด ห่างจากเด็ก อาหาร และสัตว์เลี้ยง

คำเตือน

1. ห้ามรับประทาน

2. ระวังอย่าให้เข้าตา ถูกผิวหนัง หรือสูดดม

3. ขณะใช้ให้สวมถุงมือยาง รองเท้ายาง และภายหลังการใช้หรือหยิบจับควรล้างถุงมือยาง

รองเท้ายาง และล้าง มือด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้ง

4. ห้ามทิ้งผลิตภัณฑ์ หรือภาชนะบรรจุลงในแม่น้ำ คู คลอง และแหล่งน้ำสาธารณะ

วิธีแก้พิษเบื้องต้น

1. หากถูกผิวหนังให้ล้างด้วยน้ำจำนวนมากๆ หากเปื้อนเสื้อผ้าให้รีบถอดออกแล้วล้างร่างกายด้วย

สบู่และน้ำสะอาดทุกครั้ง

2. หากเข้าตาให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาด จนอาการระคายเคืองทุเลา หากไม่ทุเลาให้รีบไปพบแพทย์

ทันที

3. หากกลืนกินผลิตภัณฑ์ ห้ามทำให้อาเจียน ให้ดื่มน้ำหรือนมปริมาณมากๆ แล้วรีบนำส่งแพทย์

ทันที พร้อมภาชนะบรรจุ ฉลากหรือใบแทรกของผลิตภัณฑ์

ภัยใกล้ตัว

พอพูดถึงสารเคมี คนจะรู้สึกหวาดกลัวขึ้นมาทันที บ้างก็เป็นพิษ บ้างก็ติดไฟ แต่ถ้ามองไปรอบตัวจะพบว่าทุกอย่างเป็นสารเคมีทั้งนั้น อยู่ที่ว่าถ้าเรารู้จักใช้ประโยชน์และระวังการใช้ให้ถูกต้อง ท่านลองเดินเข้าไปในครัว ในห้องน้ำ เคยสังเกตบ้างหรือไม่ว่า มีอะไรที่เป็นสารเคมีอันตรายบ้าง โดยเฉพาะที่อยู่บนพื้นห้องน้ำ เช่น น้ำยาขัดพื้น ท่านเคยอ่านฉลากที่ขวดไหม หากได้ลองอ่านดูจะพบว่าบางชนิดระบุว่ามีส่วนผสมของ hydrochloric acid หรือกรดเกลือ ซึ่งจะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง หากเด็กตัวเล็ก ๆ ของเราเกิดไปเทมันออกมาเล่นแล้วจะเกิดอะไรขึ้น

เรามักพบกรดเกลือในผลิตภัณฑ์ประเภท น้ำยาล้างห้องน้ำ เพราะกรดเกลือจะมีคุณสมบัติในการกัดกร่อนคราบสกปรก ทำให้สามารถทำความสะอาดสุขภัณฑ์ได้ง่าย ซึ่งในผลิตภัณฑ์ที่มักโฆษณาว่า แค่เทน้ำทิ้งไว้สักครู่ ไม่ต้องเสียเวลาขัด ก็จะขจัดคราบสกปรกได้แล้ว ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักจะมีกรดเกลือเป็นส่วนผสมอยู่เสมอ

ขึ้นชื่อว่ากรด ย่อมมีฤทธิ์กัดกร่อน ซึ่งจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเข้มข้น หากเราลองหยดกรดเกลือลงบนปูนหรือกระเบื้อง จะเห็นฟองฟู่ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาระหว่างกรดกับปูนเกิดเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซี่งหากไม่ใช่ปูนแต่เป็นเนื้อหนังของเราผลลัพธ์จะร้ายแรงแค่ไหน เพราะฉะนั้นหากเห็นชื่อ กรดเกลือ หรือ hydrochloric acid จงระวังไว้ว่ามันคือสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ถูกผิวหนังจะเกิดแผลเป็น เข้าตาก็อาจตาบอดได้ เพราะฉะนั้นสิ่งที่ควรทำหลังจากสัมผัสน้ำยาที่มีสารเหล่านี้ก็คือล้างด้วยน้ำมาก ๆ และถ้ามีผงฟูติดบ้านก็เอามาละลายน้ำประมาณ ๑ ช้อนต่อน้ำ ๑ แก้ว ราดบนผิวหนังที่ถูกกรด ก็จะช่วยลดฤทธิ์ของมันได้ แต่ข้อสำคัญที่ต้องใส่ใจเป็นอันดับแรกก็คือท่านเก็บสารเคมีเหล่านี้ไว้ในที่ที่ปลอดภัยจากลูกหลานของท่านหรือยัง ?

ผู้เขียน: รศ.สุชาตา ชินะจิตร

วันที่: 20 ก.ค. 2549

www.chemtrack.org

วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หวั่นเป็นเมืองบาดาล กาญจนบุรีเสี่ยงสุด กทม.หากแผ่นดินไหวโดนเรียบ

หวั่นเป็นเมืองบาดาล กาญจนบุรีเสี่ยงสุด กทม.กทม. หากแผ่นดินไหวโดนเรียบ

หลังจากที่มีการเปิดเผยข้อมูลว่า เขื่อนหลายแห่งในประเทศไทยสร้างคร่อมรอยเลื่อนเปลือกโลก พร้อมกับมีการเปิดแผนที่หมู่บ้านที่เสี่ยงแผ่นดินไหว จำนวน 1,406 แห่งใน 22 จังหวัดที่น่าเป็นห่วง เรื่องนี้สร้างความตื่นตระหนก และสับสนให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก

จากการสอบถามไปยังรศ.ดร.มนตรี ชูวงษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องแผ่นดินไหว และสึนามิกล่าวว่า อย่าตระหนกมากเกินไปพร้อมอธิบายว่า การสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ก็มักจะเลือกในบริเวณที่มีความสำคัญกับธรณีวิทยาทั้งนั้น แต่สิ่งที่น่าห่วงคือ ประเทศไทยกำลังมีรอยเลื่อน และพลังงานกระจายตัวอยู่มาก โดยเฉพาะจ.กาญจนบุรี, ด่านเจดีย์ 3 องค์ และรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์แต่หากมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นก็จะยังไม่เกิดผลกระทบกับ เขื่อนมากนักเพราะมีทีมที่ทำการประเมินอัตราเสี่ยงอยู่

” ถ้ามองลึกในระดับวิชาการจริงๆ การสร้างเขื่อนคร่อมรอยเลื่อนเปลือกโลกเป็นเรื่องธรรมดา เพราะมันต้องสัมพันธ์กับโครงสร้างทางธรณีวิทยา ต้องมีแม่น้ำสายหลักไหลผ่าน ซึ่งแม่น้ำสายหลักส่วนใหญ่มันก็จะพัฒนาการอยู่บนรอยเลื่อน มันถึงจะเป็นที่แม่น้ำจะสามารถนำพาน้ำมาเป็นอ่างเก็บน้ำได้ ไม่ว่าจะเป็นรอยเลื่อนเล็กหรือรอยเลื่อนใหญ่ มันมีความสัมพันธ์ไม่ต้องตกใจ”

นอกจากนี้รศ.ดร.มนตรี ยัง อธิบายถึงกระแสข่าวที่ว่าพบรอยเลื่อนใหญ่แห่งใหม่อยู่ใต้กรุงเทพฯนั้นจริงๆ พบมานานมากแล้ว แต่รอยแยกดังกล่าว อยู่ลึก แล้วมีตะกอนดินไปปิดทับอยู่พอสมควร แต่ถ้าเกิดแผ่นดินไหวแล้วเชื่อว่าคนกรุงเทพฯ จะโดนกันหมด นอกจากนี้ สิ่งที่น่าเป็นห่วงหลังจากเกิดแผ่นดินไหวขึ้นมาก็คือ เรื่องสึนามิ ที่จะต้องเกิดขึ้นแน่นอน แต่อาจจะไม่ร้ายแรงเท่ากับปี 2547 แต่ถ้าเกิดขึ้นน่าจะสร้างความเสียหายให้กับคนไทยได้ไม่น้อย เนื่องจากหอเตือนภัยไม่พร้อมแน่นอน ยังไม่ทั่วถึง

ด้าน รศ.ดร.สัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญเรื่องแผ่นดินไหว กล่าวย้ำถึงพื้นที่อันตรายด้วย ว่า นอกจาก 8 จังหวัดภาคเหนือ และแถบตะวันตกแล้ว จ.กาญจนบุรีถือว่าเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงที่สุดในเมืองไทย แม้ว่าตามข้อมูลการวิจัยจะพบว่าในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยยังไม่มีแผ่นดินไหวมากกว่า 6 ริกเตอร์ก็ตามแต่จากการศึกษา ของเราที่ จ.กาญจนบุรี และ 8 จังหวัดทางภาคเหนือ โดยที่ จ.เชียงใหม่มีรอยเลื่อนหลายตัวที่มีศักยภาพทำให้แผ่นดินไหวมากกว่า 6 ริกเตอร์ ซึ่ง 6 ริกเตอร์ อาจทำให้บ้านที่สร้างไม่ดีก็จะพังทลายในพริบตา ถือว่าเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงมากๆ

สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือวันนี้ประเทศไทยไม่พร้อมกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด เกินกว่า 7 ริกเตอร์แน่นอน ดังนั้นข้อมูลที่เผยแพร่ต้องกลั่นกรองให้ดีส่วนวิธีป้องกันเมื่อเกิดแผ่นดิน ไหวแรงๆ สิ่งที่ทำได้ก็คือคนที่อยู่ในอาคารใหญ่ห้ามวิ่งหนีแบบสะเปะสะปะให้วิ่งไปที่ มุมห้อง แล้วเอาโต๊ะ-เก้าอี้ที่แข็งแรงมาช่วยบังเอาไว้เป็นวิธีที่ดีที่สุด

ด้านดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า สถานทีที่น่าเป็นห่วงตอนนี้ก็คือ ภาคเหนือ และ จ.กาญจนบุรี โดยเฉพาะเขื่อนศรีนครินทร์ ประชาชนในพื้นที่ต้องคอยฟังข้อมูลเรื่องแผ่นดินไหวเอาไว้ตลอดเวลา

ที่มา:http://news.mthai.com/general-news/80088.html

วันเสาร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2553

อนุญาโตตุลาการกับ สาขาวิชาชีพวิศวกรรมและงานก่อสร้าง
Arbitrator with engineering field and the construction work
นาย ธวัตรชัย ทวิติยกุล
นักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตรวจสอบและกฎหมายวิศวกรรม รุ่นที่ 1
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง

บทคัดย่อ
อนุญาโตตุลาการ เป็นกระบวนการระงับข้อพิพาทซึ่งวิศวกรต่างรู้จักและคุ้นเคยกับชื่อมาก เนื่องจากในปัจจุบันมีการกาหนดสัญญาแนบท้ายสัญญาก่อสร้างหากเกิดข้อพิพาทเกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาให้ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการ โดยส่วนใหญ่แล้ววิศวกรจะไม่เข้าใจกระบวนการอนุญาโตตุลาการ เพราะมองว่าเป็นแนวทางการใช้กฎหมายต้องอาศัยนักกฎหมายเป็นหลัก แต่ในทางความเป็นจริงแล้ว กระบวนการอนุญาโตตุลาการต้องใช้ความชานาญการ หรือวิชาชีพเฉพาะด้านเพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาอย่างสมเหตุสมผล ดังนั้นวิชาชีพทางวิศวกรรมจึงมีบทบาทมากในการที่ใช้ความรู้ความสามารถในวิชาชีพเพื่อใช้ระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับสัญญาก่อสร้าง เพื่อไม่ให้คดีที่เกิดขึ้นรกโรงรกศาล และเพื่อบรรลุตามวัตถุประสงค์แห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการ

Abstract

Arbitrator is the procedure holds over the dispute which engineer differs to know and acquainted with many name because of in now have the specification promises to attach promise build if born the dispute happens between the parties use arbitrator procedure mainly engineer will don't understand arbitrator procedure because think in rows using law way must live a lawyer is a principle but the sense of the fact. Arbitrator procedure must use the expert something or especial side vocation for is the data assembles in type meditation reasonably. Thus way engineering vocation then have many role s in with regard to use ability knowledge s in vocation for s use to hold over the dispute where s happen about promise to build , lest , a case that happen untidy untidy court gamboge and for achieve follow objective promises an arbitrator.

Keyword: อนุญาโตตุลาการ สัญญาก่อสร้าง การดาเนินการเรื่องอนุญาโตตุลาการ สัญญาทางการค้า

1. บทนา
การอนุญาโตตุลาการ (Arbitration) เป็นวิธีระงับข้อพิพาทซึ่งคู่พิพาทตกลงกันตั้งบุคคลที่สาม ซึ่งเรียกว่า อนุญาโตตุลาการ ขึ้นมาเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างกัน และเมื่ออนุญาโตตุลาการมีคาชี้ขาดอย่างใดแล้วย่อมผูกพันให้คู่พิพาทต้องปฏิบัติตาม ดังนั้นในทางวิศวกรรมก่อสร้าง ในปัจจุบันสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนเกิดขึ้นเป็นจานวนมาก ตามโครงการต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งโครงการขนาดใหญ่ และโครงการขนาดเล็ก ทั้งเป็นการร่วมกันลงทุนกับต่างชาติ และทุนโดยเจ้าของคนเดียว ทั้งเกิดโดยผลแห่งผลแห่งสัญญาก่อสร้าง และสัญญาทางการค้า ดังนั้นวิศวกรจึงต้องทาการศึกษาและทาความเข้าใจในเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากสัญญาก่อสร้าง และวิธีระงับข้อพิพาทโดยการอนุญาโตตุลาการ

2. อนุญาโตตุลาการกับ สาขาวิชาชีพวิศวกรรมและงานก่อสร้าง
อนุญาโตตุลาการ เป็นกระบวนการระงับข้อพิพาท ซึ่งวิศวกรต่างคุ้นกับชื่อนี้มาก เนื่องจากในท้ายสัญญาก่อสร้างจานวนมากมักจะมีการระบุในสัญญาเอาไว้ว่า ถ้าหากมีข้อ
พิพาทเกิดขึ้นระหว่างคู่สัญญาให้ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการเป็นวิธีตัดสินข้อพิพาทนั้น แม้ว่าวิศวกรส่วนใหญ่จะคุ้นกับชื่อกระบวนการนี้แล้ว แต่มีวิศวกรจานวนน้อยมากที่รู้จักกระบวนการนี้อย่างลึกซึ้ง หรือมีส่วนร่วม หรือเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยกับกระบวนการอนุญาโตตุลาการ และมีวิศวกรอาวุโสระดับปรมาจารย์ในจานวนไม่กี่ท่านที่มักได้รับการร้องขอให้เป็นอนุญาโตตุลาการตัดสินข้อพิพาท และสืบเนื่องเมื่อดูรายชื่อผู้ขึ้นทะเบียนกับสานักงานอนุญาโตตุลาการก็พบว่ามีวิศวกรเพียง 3 ท่าน จากรายชื่อที่ขึ้นทะเบียนไว้ 127 ท่าน โดยส่วนใหญ่จะเป็นนักกฎหมาย
เมื่อมีการตรวจสอบข้อมูลโดยการสอบถามกับทางผู้อานวยการสานักอนุญาโตตุลาการจึงได้ความว่า เมื่อเกิดกรณีพิพาทงานทางวิศวกรรมหรืองานก่อสร้าง ซึ่งคู่กรณียินดีใช้ขบวนการอนุญาโตตุลาการเป็นวิธีการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น มักจาเป็นต้องเลือกนักกฎหมายเข้ามาทาหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการ ก็พบปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับผู้พิพากษาในศาลกล่าวคือ ผู้ตัดสินไม่เข้าใจลึกซึ้งถึงประเด็นปัญหาข้อพิพาท ดังนั้นคู่กรณีทั้งสองฝ่ายต้องพยายามนาสืบอธิบายในงานด้านวิศวกรรมให้นักกฎหมายเข้าใจได้ การอนุญาโตตุลาการจึงต้องมีการแต่งตั้งวิศวกรคนกลางเข้ามารับฟังเพื่อสรุปเรื่องกรณีพิพาท และแปลให้อนุญาโตตุลาการซึ่งเป็นนักกฎหมายฟังอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่อนุญาโตตุลาการจะตัดสินได้ ทาให้ขบวนการอนุญาโตตุลาการมีผลลัพธ์คล้ายกับการขึ้นศาล คือการตัดสินล่าช้า และผู้ตัดสินไม่เข้าใจประเด็นปัญหาที่พิพาทกันทาให้ขบวนการอนุญาโตตุลาการทางสาขาวิศวกรรมไม่มีประสิทธิภาพ และไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของขบวนการอนุญาโตตุลาการ
จากปัญหาที่กล่าวมาแล้ว กับวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศไทย ทาให้เกิดกรณีพิพาทเกี่ยวกับงานก่อสร้าง และงานในวิชาชีพทางวิศวกรรม สถาบันอนุญาโตตุลาการจึงได้ปรึกษาหารือกับคณะอนุกรรมการหน่วยเฉพาะกิจพัฒนาคุณภาพชีวิต และสังคม สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในการจัดทาทะเบียนรายชื่ออนุญาโตตุลาการ และต่อมาสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยได้มีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในการทาหน้าที่อนุญาโตตุลาการ ให้กับวิศวกรเพื่อเข้าใจถึงแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับขั้นตอนการดาเนินการเรื่องอนุญาโตตุลาการ รวมถึงเข้าใจข้อกฎหมายที่ใช้เกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการ กรณีข้อพิพาทในงานก่อสร้างเป็นปัญหาสาคัญประการหนึ่ง ที่ทาให้งานก่อสร้างล่าช้าและทาให้การดาเนินการไม่สาเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ในงานก่อสร้างราชการสัญญาก่อสร้างจะประกอบด้วยข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการ เพื่อใช้ในการยุติกรณีพิพาทที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ความเข้าใจในการใช้ข้อสัญญาดังกล่าวยังมีค่อนข้างน้อย ซึ่งในระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุสัญญามาตรฐานงานก่อสร้างของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
พิจารณาในระเบียบสานักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และในสัญญามาตรฐานงานก่อสร้างของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นจากสัญญามาตรฐานของ FIDIC (La Fe'de'ration International des Inge'nieursConseils) มีเนื้อหาและใจความกล่าวในด้านระบบและกระบวนการอนุญาโตตุลาการเป็นหลัก แต่ไม่ได้กล่าวในด้านกรอบของสิทธิที่คู่สัญญาก่อสร้างจะนาสัญญานี้มาใช้ได้เพียงใดจึงเป็นปัญหาสาคัญประการหนึ่งที่คู่สัญญาก่อสร้างไม่ค่อยจะมีความเข้าใจ อาจทาให้คู่สัญญาเสียโอกาสในการยกข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการนี้มาใช้ในการหาข้อยุติในกรณีพิพาทต่างๆได้ตามเจตนาของคู่สัญญาที่มีไว้ต่อกันในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญาก่อสร้าง โดยศึกษาจากข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และใช้ข้อมูลจากข้อหารือที่เป็นข้อโต้แย้งหรือกรณีข้อพิพาทของสัญญาก่อสร้างภายในประเทศของสานักงานที่ปรึกษากฎหมาย กรณีที่มีข้อพิพาทมากที่สุดคือ กรณีพิพาทเรื่องเกี่ยวกับค่าจ้างโดยมีสาเหตุหลัก จากการต้องตีความเรื่องสิทธิระหว่างคู่สัญญา และเมื่อวิเคราะห์ต่อเนื่องพบว่าพฤติการณ์ของกรณีพิพาท มักเกิดขึ้นในช่วงระหว่างการก่อสร้างมากที่สุด โดยฝ่ายผู้รับเหมาก่อสร้างมักเป็นฝ่ายที่เสียหายและมักจะได้รับการพิจารณาให้ชนะในด้านสิทธิมากกว่า
ปัจจุบันการระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ในสัญญาทางพาณิชย์และอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสัญญาระหว่างประเทศหรือสัญญาที่หน่วยงานของรัฐเป็นคู่สัญญา มักจะกาหนดให้มีการระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการไว้ด้วยเสมอ
พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ ฉบับ พ.ศ.๒๕๔๕ นี้ ได้นากฎหมายแม่แบบว่าด้วยอนุญาโตตุลาการทางพาณิชย์ระหว่างประเทศ ของคณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหประชาชาติ (United Nations Commission on International Trade Law หรือ UNCITRAL) และการอนุญาโตตุลาการเข้ามามีบทบาทมากเกี่ยวเรื่องของสัญญาก่อสร้างเนื่องจากได้มีนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุนก่อสร้างในหลายๆสัญญาเกี่ยวกับการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคของรัฐ (Infrastructure) เช่น โครงการทางด่วนระหว่างเมือง, โครงการรถไฟฟ้ามหานคร (รฟม.), โครงการรถไฟในเขตเมืองของกรุงเทพมหานคร (B.R.T) ข้อสัญญาก่อสร้างมีการทาในลักษณะที่เป็นสากลซึ่งทางรัฐบาลไทยได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การค้าโลก (WTO.) ได้นากฎหมายแม่แบบว่าด้วยอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศของคณะกรรมาธิการว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติมาบังคับใช้ ดังนั้นข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการในประเทศไทยที่มีความก้าวหน้าในงานก่อสร้างปัจจุบัน นัยสาคัญในการอนุญาโตตุลาการจะให้ความสาคัญที่การให้โอกาสคู่กรณีพิพาทได้มีการเสนอข้อตกลงร่วมกัน และเป็นโอกาสในการนาเสนอความต้องการในการระงับและยุติข้อพิพาท มากกว่าการคานึงถึงความเคร่งครัดตามกระบวนการพิจารณาตามตัวบทกฎหมาย จึงเป็นการสร้างแรงจูงใจให้คู่กรณีแต่ละฝ่ายมีความปรารถนาที่จะดาเนินการระงับและยุติข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการมากกว่าการนากรณีข้อพิพาทสู่กระบวนการฟ้องร้องทางศาลโดยตรง
กฎหมายเกี่ยวกับสัญญาอนุญาโตตุลาการที่วิศวกร
- ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาแพ่ง เกี่ยวกับการอนุญาโตตุลาการ หมวด ๓ มาตรา ๒๑๐ ถึงมาตรา ๒๒๒
- พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. ๒๕๔๕
- พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
- สามารถใช้สัญญาอนุญาโตตุลาการระงับข้อพิพาททางปกครองได้ เช่น การแก้สัญญา การบอกเลิกสัญญา หรือการขยายเวลาสัญญา
- เมื่อคู่สัญญาไม่พอใจคาชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการก็มีสิทธิขอให้ศาลปกครองพิจารณาเพิกถอนคาชี้ขาดนั้นได้

3. สรุป
เป็นการศึกษาค้นคว้าในเชิงบูรณาการ ด้านกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาอนุญาโตตุลาการ และวิชาชีพวิศวกรมเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างเป็นธรรมกับคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย ตามข้อบังคับแห่งกฎหมาย และหลักเกณฑ์การประกอบวิชาชีพวิศวกรรม
กิตติกรรมประกาศ
ผู้เขียนใคร่ขอขอบคุณคณะผู้จัดทาเว็บไซต์ และขอขอบคุณคณะผู้จัดทาเว็ปไซด์กูเกิลล์ ซึ่งเป็นเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้า สืบค้นข้อมูลทางอิเลคทรอนิคส์ ถือว่าเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการเขียนบทความฉบับนี้ รวมถึงขอขอบพระคุณนักวิชาการในด้านกฎหมายเกี่ยวกับอนุญาโตตุลาการในงานวิศวกรรมที่มิได้เอ่ยนามมา ณ ที่นี้
ท้ายที่สุดนี้ขอขอบพระคุณ คณะอาจารย์ ผู้บริหารโครงการพิเศษ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง ที่ได้ให้โอกาสผู้เขียนในการศึกษาค้นคว้า เรื่องการอนุญาโตตุลาการเกี่ยวกับงานวิศวกรรม จึงทาให้เกิดเป็นบทความเรื่องนี้ขึ้น

เอกสารอ้างอิง
[1] สานักงานระงับข้อพิพาท สานักงานศาลยุติธรรม,2552. คู่มือการระงับข้อพิพาทสาหรับประชาชน. 9,500เล่ม. พิมพ์ครั้งที่5. นนทบุรี : เพชรรุ่งการพิมพ์.
[2] เรือเอก อานนท์ ไทยจานง, 2548. ปัญหาและแนวทางการใช้สัญญาอนุญาโตตุลาการเพื่อการระงับ/ยุติข้อพิพาทในงานก่อสร้าง กรณีสัญญาก่อสร้างงานราชการ.บัณฑิตศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[3] มั่น ศรีเรือนทอง, 2541. อนุญาโตตุลาการสาขาวิชาชีพวิศวกรรมและงานก่อสร้าง. วารสารโยธาสาร 10, 3 (กรกฎาคม-กันยายน 2541) : 30-31.
[4] วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี, 10 พฤศจิกายน 2552. อนุญาโตตุลาการ.http://th.wikipedia.org/wiki/อนุญาโตตุลาการ.


ประวัติผู้เขียน และผู้เขียนร่วม
นายธวัตรชัย ทวิติยกุล
วท.บ. (เทคโนโลยีก่อสร้าง) สถาบันราชภัฏจันทรเกษม
หัวหน้ากลุ่มงานโครงการก่อสร้างและบูรณะ
ฝ่ายโยธา สานักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร